วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ออกบูธประชาสัมพันธ์เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลำปาง

วันที่ 26 กรกฎาคม 2552 เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง สมาคมชีวิตดี ออกบูธประชาสัมพันธ์งานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม พร้อมกับตั้งโต๊ะรับเรื่องร้องเรียน บริเวณถนนคนเดินกาดกองต้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนที่มาร่วมงานถนนคนเดินอย่างมาก ซึ่งการ ออกบูธประชาสัมพันธ์ครั้งนี้ทำให้ประชาชนจังหวัดลำปางรับรู้เรื่องการคุ้มครองสิทธิมากขึ้น

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การประชุมโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

เมื่อวัน 26 กรกฎาคม 2552 ผศ.ดร ยุวยงค์ จันทรวิจิตร ผู้จัดทำโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ร่วมกับสมาคมชีวิตดี จัดเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจ และสอบถามความคิดเห็นของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะต่อการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ จากเวทีดังกล่าวชาวบ้านได้ให้ความเห็นว่าควรมีการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ที่ประชุมได้เสนอ นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะกับโครงการ

นายศรีสะเกษ สมาน จากสมาคมชีวิตดี กล่าวว่า ชาวบ้านต้องมีความสามัคคี ฝึกเป็นผู้ให้มากกว่ารับ รวมทั้งต้องพึ่งพาตนเองมากกว่าพึ่งพาหน่วยงานภายนอก

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระดมนักวิชาการ กำหนดแผนงานบูรณาการงานวิจับกับภาคประชาชน จ.ลำปาง

วันที่ 23 ก.ค. 2552 สมาคมชีวิตดีจัดประชุมกลุ่มนักวิชาการ และ คณะทำงานศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลำปาง จัดประชุมหารือ แผนงานการบูรณาการงานวิชาการกับคณะงานขับเคลื่อนด้านสิทธิผู้บริโภคระดับแกนนำและภาคประชาชน ณ ห้องประชุมสมาคมชีวิตดี

โดยมีนักวิชาการด้านสาธารณะสุข –การพัฒนา-และการสื่อสาร –นักกฎหมาย ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานแบบบูรณาการ โดยบูรณาการงานวิจัย แบบมีส่วนร่วม กับงานภาคประชาชนที่ทำงานด้านสิทธิผู้บริโภคระดับพื้นที่ 13 อำเภอ รวมถึงงานพัฒนาด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงาน

ที่ประชุมมีข้อสรุปจะทำงานวิจัย ไปพร้อมๆกับการทำงานในพื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อ ศึกษากระบวนการทำงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จังหวัด กับคนทำงานระดับพื้นที่ เพื่อหาแนวทางและทิศทางข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายและนำมาปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานระดับพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาชุดเครื่องมือในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และเกิดความร่วมมือระหว่างนักวิชาการกับภาคประชาชนที่เป็นรูปธรรมชัดเจน

ทั้งนี้จะจัดประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียดแผนงานวิจัยแบบบูรณาการดังกล่าวอีกครั้ง จากนั้นจะประชุมชี้แจงรายละเอียดต่อผู้เกี่ยวข้องและลงมีปฏิบัติตามแผนงาน จนถึงการรายงานผลต่อไป

เวทีสัมมนา พรบ. เกษตรแห่งชาติ

วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 ศูนย์ประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ร่วมกับ มูลนิธิชีวิตไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สมาคมชีวิตดี จัด “เวทีสาธารณะ พรบ.สภาเกษตรแห่งชาติ เพื่อใคร ทำไม อย่างไร” ณ ห้องประชุมบัวตอง มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง โดย มี แกนนำเกษตรกรและเครือข่ายผู้บริโภค 8 จังหวัดภาคเหนือ นักวิชาการ และนักพัฒนาด้านเกษตร อาหาร ทรัพยากร หน่วยงานรัฐ เช่นนักวิชาการเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน เข้าร่วมเวทีเสวนา กว่า 200 คน

ในเวที เวทีสาธารณะ พรบ.สภาเกษตรแห่งชาติ เพื่อใคร ทำไม อย่างไร ดังกล่าว ได้แลกเปลี่ยนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และเกษตรกรเพื่อขับเคลื่อนงานผลักดันสภาเกษตรแห่งชาติ โดยเน้นย้ำการแลกเปลี่ยนประเด็นสิทธิเกษตรกร

สมศักดิ์ จั่นบำรุง เครือข่ายผู้บริโภค จ.ลำปาง กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เกษตรกร ยังคงมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก และต้องต่อสู้ภายใต้อำนาจรัฐ และยังต้องเจรจาต่อรองกับคนของรัฐและนักการเมือง ซึ่งเกษตรกรมักเสียเปรียบและมีกำลังต่อรองน้อย ดังนั้น จึงต้องเกิดการรวมตัวกันของเกษตรกรทั้งประเทศเพื่อสร้างกำลังต่อรองในสิทธิที่พึงได้ของ เกษตกรร่วมกัน อย่างน้อย 10 % และหากสามารถรวมกันได้ถึง 50 % ของเกษตกรทั้งประเทศ จะช่วยให้เกษตรกรมีพลังต่อรอง

ประนอม เชิมชัยภูมิ จากสถาบันพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องราคาตำต่ำและมักเกิดจากนโยบายรัฐทั้งสิ้น การรวมตัวกันเป็นสภาเกษตรแห่งชาติ ต้องชัดเจนว่า เป็นสภาเพื่ออะไร เกษตรกรจะได้ประโยชน์อย่างไร อย่างน้อยต้อง มีผลด้านการเรียกร้อง 1.เพื่อลดต้นทุนการผลิต 2.มีอุตสาหกรรมรองรับ 3. และทำอย่างไรไม่ให้ราคาพืชผลตกต่ำ

สุมนมาลย์ สิงหะ จากมูลนิธิชีวิตไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีคณะติดตาม สภาเกษตรแห่งชาติกันมาต่อเนื่องพอสมควร แต่ยังต้องการการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และเกิดผลในการผลักดัน ที่เป็นรูปธรรม

ศรีสะเกษ สมาน สมาคมชีวิตดี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีองค์กร สภาที่เกี่ยวข้องกับการค้า ทั้งหอการค้า สภาการค้าต่างๆ เพื่อเรียกร้องผลักดันสิทธิและประโยชน์ของกลุ่ม แต่ยังไม่มีสภาเกษตร ดังนั้นเราต้องช่วยกันผลักดันสภาเกษตรให้เกิดขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การประชุมเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2552 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย ศูนย์ประสานงานเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปางจัดประชุมคณะทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านการรักษาพยาบาล และทำความเข้าใจเรื่องการขึ้นทะเบียนสภาผู้บริโภค สภาองค์กรชุมชน รวมทั้งออกแบบเวทีให้ความรู้ด้านสิทธิผู้บริโภคแก่นักเรียน นักศึกษาในจังหวัดลำปาง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคมีการตื่นตัว และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิมากขึ้น

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อบรมนักข่าวคุ้มครองสิทธิ

เมื่อวันที่ 12-15 มิถุนายน 2552 นางสาวสิริวิมล พัฒทูม และนายวัลลภ ปัญญายืน เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลำปาง เข้าร่วมโครงการนักข่าวคุ้มครองสิทธิ ครั้งที่ 1 ที่ The Old Rice Mill Private Home Stay ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) และประชาไท
ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้หลักการเขียนข่าวเบื้องต้น การตัดต่อวิดีโอ การเผยแพร่ข้อมูลโดยสื่อกระแสรอง (สื่อใหม่) รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวิทยากรกับผู้เข้าร่วมอบรมในประเด็นต่าง ๆ

โทรศัพท์มือถือ MP3 สร้อย แหวน ฯลฯ เป็นสื่อล่อ "ฟ้าผ่า" หรือไม่

ข่าวกรณีฟ้าผ่าจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บทั้งในไทยและต่างประเทศ มักถูกระบุว่าโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องประดับที่ทำจากโลหะเป็นสื่อล่อให้เกิดฟ้าผ่า แต่ความจริงแล้วชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กไม่ใช่ตัวล่อฟ้าผ่าแต่อาจจะมีผลกระทบข้างเคียงได้หากคุณถูกฟ้าผ่า หรืออยู่ใกล้บริเวณที่ถูกฟ้าผ่า ทั้งนี้เนื่องจากฟ้าผ่าทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกไปโดยรอบ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้สามารถทำให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำ (Induced Current) ขึ้นในโลหะ ส่งผลให้โลหะร้อนขึ้น และทำให้เกิดรอยไหม้บนผิวหนังที่โลหะนั้นสัมผัสอยู่ (ในสหรัฐอเมริกา มีกรณีที่เกิดฟ้าผ่าลงบนต้นไม้ใกล้ ๆ บ้าน และทำให้เด็กที่ใส่ลวดดัดฟันได้รับอันตราย เนื่องจากลวดดัดฟันร้อนขึ้น และในรัสเซีย มีกรณีที่โทรศัพท์มือถือละลายคามือผู้หญิงที่ถูกฟ้าผ่า) ในกรณีที่โชคร้ายกว่านั้น หากกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกาย ก็เป็นไปได้ว่ากระแสส่วนหนึ่งจะไหลเข้าสู่เส้นลวดหรือวัตถุที่เป็นโลหะ ทำให้โลหะร้อนขึ้น เกิดเป็นรอยไหม้ที่พบบนผิวหนัง และทำให้เกิดบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น

ที่มา: ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. และสำนักสื่อสารสาธารณะและบริการประชาชน สบท.

วิวัฒนาการกิจการโทรคมนาคม 1G 2G 3G

1G ย่อมาจาก Generation คือ ระบบ ANALOG
2G คือ ระบบ DIGITAL
3G คือ ระบบ WIRELESS
ก่อนที่จะเป็นยุค 3G นั้นเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเรื่อยมา คือ ยุค 1G 2G 3G ในยุค 1G นั้นเป็นยุคแรกของการพัฒนาในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ คือ การรับส่งสัญญาณโดยใช้วิธีการผสมสัญญาณ ANALOG เข้าช่องสื่อสาร โดยใช้การแบ่งระบบความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ยุคต่อมาคือยุค 2G จะเป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล คือให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลง มีการติดต่อจากสถานีลูกหรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA และ COMA ในยุคนี้จึงเป็นการส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว ส่วนยุค 3G เป็นยุคอนาคตอันใกล้โดยสร้างระบบใหม่รองรับระบบเดิมและเรียกว่า UMTS การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายสามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ โดยระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็น CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง ระบบนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า WCDMA มีแนวโน้มเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์