วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประชุมเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 ได้มีการประชุมเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน และหาแนวทางขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคปี พ.ศ. 2554 ซึ่งได้แนวทางการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กลไกระดับอำเภอ 13 อำเภอ และ ระดับตำบล รวมทั้งมีเวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านกฎหมาย และพัฒนาด้านบุคคลิกภาพในแผนการทำงานด้วย

อบรมหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษา และการคิดเชิงระบบ

เมื่อวันที่ 1-4 ธันวาคม 2553 เจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษา และความคิดเชิงระบบ ณ ชลพฤกษ์รีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยได้เรียนรู้เรื่องสุนทรียสนทนา หรือ ไดอะล็อก ผู้นำสี่ทิศ ทฤษฎีไข่ไดโนเสาร์ ทฤษฎีไข่แดงไข่ขาว ทฤษฎีคลื่นสมอง สภาวะของชีวิต การตระหนักรู้ (Aware Ego) และการคิดเชิงระบบ จากการเข้าร่วมอบรมดังกล่าวสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เมื่อวันที่ 19 - 22 กรกฎาคม 2553 ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สมาคมชีวิตดีได้เดินทางไปศึกษาดูงานคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกับเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น และเยี่ยมชมการทำเกษตรอินทรีย์ จังหวัดศรีสะเกษ จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้และประสบการณ์การทำงานที่เป็นประโยชน์ สามารถนำมาปฏิบัติและถ่ายทอดให้กับภาคีเครือข่ายการทำงานในจังหวัดลำปางต่อไป

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เวทีชี้แจงและกำหนดทิศทางคณะทำงานเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง




เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ศูนย์ประสานงานเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง ได้จัดเวทีชี้แจงและกำหนดทิศทางคณะทำงานเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปาง ณ โรงแรมรีเจนท์ ลอร์ด จังหวัดลำปาง โดยมีตัวแทนคณะทำงานอำเภอทั้ง 13 อำเภอเข้าร่วมกิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายผู้บริโภค 13 อำเภอ มีความรู้ ความเข้าใจ ความตื่นตัวและความตระหนักต่อสิทธิหน้าที่ของผู้บริโภค มีความสามารถในการปกป้องแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และเป็นผู้สนับสนุนพร้อมขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในพื้นที่ด้วยวิธีการระดมทรัพยากรกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เช่น อปท. โรงเรียน ได้

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จังหวัดลำปาง

วิสัยทัศน์การส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภาคเหนือ 3 ปี (2553 - 2554)
ความเข้มแข็งของขบวนการภาคประชาชน ที่เชื่อมร้อยพลังและนำไปสู่สิทธิพลเมืองในการคุ้มครองผู้บริโภค : ผู้บริโภคสีเขียว (Green Consumer)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. สนับสนุนเครือข่ายผู้บริโภค 13 อำเภอ ทำหน้าที่เป็นกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิผลโดยใช้ระบบเครือข่ายในระดับพื้นที่อำเภอและระดับจังหวัดให้มีความเข้มแข้งนำไปสู่การเป็นองค์การอิสระผู้บริโภค
2. สาธารณชนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค
3. รับเรื่องร้องเรียนและติดตามการตรวจสอบการบริการในกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค
4. เพื่อติดตามเสนอแนะนโยบาย กฎหมายและมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
5. องค์กรมีศักยภาพและมีความพร้อมในการขับเคลื่อนการทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
รายชื่อภาคีหุ้นส่วน
1. เครือข่ายผู้บริโภค 13 ศูนย์อำเภอ
ภาคียุทธศาสตร์
1. ทีมนักวิชาการ
2. อปท.
3. หน่วยงานภาครัฐ
4. ทีมสื่อลำปาง
ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (3 ปี)
เครือข่ายผู้บริโภค 13 อำเภอ มีความรู้ ความเข้าใจ ความตื่นตัว และความตระหนักต่อสิทธิหน้าที่ของผู้บริโภค มีความสามารถในการปกป้องสิทธิแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และเป็นผู้สนับสนุนพร้อมขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในพื้นที่ ด้วยวิธีการระดมทรัพยากรกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เช่น อปท. โรงเรียน
ตัวบ่งชี้ความก้าวหน้า (3ปี)
เกณฑ์บ่งชี้ความก้าวหน้า
ระยะเวลา (ปี)
ระดับง่าย
ปีที่ 1
1. มีการประชุมวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ แบบมีส่วนร่วม
2. มีระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
3. มีระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
4. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสารประชาสัมพันธ์
5. มีความรู้ ความเข้าใจ ความตื่นตัว ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค
6. มีการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่
7. มีการทำงานเป็นทีม
ระดับปานกลาง
ปีที่ 2
1. มีความตระหนักต่อสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค
2. มีศักยภาพความสามารถในการคุ้มครองสิทธิ การแก้ไขปัญหาในการรับเรื่องร้องเรียน
3. มีชุดความรู้จากการทำงานด้านผู้บริโภค
ระดับยาก
ปีที่ 3
1. มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2. มีการต่อยอดงานเดิม และงานใหม่ กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อปท. โรงเรียน
3. ระดมทรัพยากรกับหน่วยงานภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง